การจัดการชุดความรู้

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal) : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและมีวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

Week 1


เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันมีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษา 2551 ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
25 – 28
ต.ค.
2559
โจทย์ : สร้างฉันทะ/แรงบันดาลใจ/วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้
- วิเคราะห์หลักสูตร 2551
วิชาบูรณาการ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ?
- สิ่งที่นักเรียนรู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้มีอะไรบ้าง?
- นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน การเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?

เครื่องมือคิด :
- Chard and Chart
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ / ความเข้าใจต่อหน่วยการเรียนรู้ใน
2 Quarter ที่ผ่านมา
- ชักเย่อความคิด
วิเคราะห์และให้เหตุผลต่อคลิปวิดีโอ “สูตรลับพิชิตสอบ”
- Blackboard Share
ตั้งชื่อหน่วย
- Think Pair Share
เลือกชื่อหน่วย
- Show and Share และ Brain Strom
ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน
- Mind Mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- คลิปวิดีโอ
 “สูตรลับพิชิตสอบ”
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ และความเข้าใจต่อหน่วยการเรียนรู้ใน 2 Quarter ที่ผ่านมา โดยใช้เครื่องมือคิดCard and Chart
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมจัดหมวดหมู่วิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
ชง : ครูและนักเรียนดูคลิปวิดีโอ “สูตรลับพิชิตสอบ” คลิปโฆษณาต่างๆ




เชื่อม : นักเรียนวิเคราะห์วิดีโอที่ได้ดูโดยใช้เครื่องมือคิด ชักเย่อความคิด
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้ได้อย่างไรว่าในระดับชั้น ม.3 ตนเองจะต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องใดบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งเขียนสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นพิเศษ
พุธ 2 ชั่วโมง
ชง : ครูแนะนำหนังสือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- นักเรียนแต่ละคนร่วมพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายของหนังสือหลักสูตร
- นักเรียนจับสลากแบ่งกลุ่ม วิเคราะห์หลักสูตรแต่ละวิชาตามหมวดหมู่ของวิชาบูรณาการ
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอความเข้าใจหลังจากวิเคราะห์หนังสือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผ่านชิ้นงานตามรูปแบบความสนใจ เช่น ชาร์ตข้อมูล
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ?”
เชื่อม : นักเรียนเลือกชื่อหน่วยที่อยากเรียนรู้ (เครื่องมือคิด Think pair share)
ชง : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์ โดยใช้เครื่องมือคิด Brain Strom และ Show and Share
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนร่วมกันประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิทินการเรียนรู้และสรุปลงในกระดาษชาร์ต
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์และเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ลงในกระดาษ A4
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบ Mind Mapping องค์ความรู้ก่อนเรียน
ใช้ : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์คลิปวิดีโอ
- วิเคราะห์หลักสูตร
- ร่วมกันระดมความคิดตั้งชื่อหน่วยและออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง 10 สัปดาห์
- วิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุป Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ชิ้นงาน
- ชื่อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
Quarter 3
- Mind Mapping (ก่อนเรียน)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันมีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
สามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษา 2551 ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเช่น กระดาษ , สี
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลองให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้
- นำเสนอชื่อหน่วย และปฏิทินการเรียนรู้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน 2551 ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิดสร้างสรรค์   
สามารถคิดสร้างสรรค์และออกแบบกระบวนการทดลองและสรุปผลการทดลอง รวมถึงบันทึกข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ เช่น ชาร์ข้อมูล Timeline  ภาพประกอบ  การ์ตูนช่อง และ Mind Mapping
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆในระบบออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพเพื่อนำมาประกอบการจัดการเรียนรู้

คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้

















ตัวอย่างชิ้นงาน
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ (เดี่ยว / กลุ่ม / รวม)









ปฏิทินรวมของห้องเรียน ที่ได้จากทุกความคิดเห็นทุกคน


ตัวอย่าง สรุปรายสัปดาห์





1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์แรกแห่งการเปิดเรียน Quarter 3 ของพี่ๆ ม. 3 ในสัปดาห์นี้พี่ๆไดเรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งก่อนที่พี่ๆจะได้วางแผนนั้น คุณครูสร้างแรงโดยการเปิดคลิปวิดีโอที่หลากหลายให้พี่ๆดู จากนั้นให้พี่ๆลองวิเคราะห์ คาดเดาชื่อคลิปหรือสิ่งที่โฆษณาต้องการสือ ส่วนใหญ่พี่ๆจับตีมของเรื่องหรือโฆษณาที่คุณครูเปิดให้ดูได้ เช่น พี่ตุ๊กตา : จากที่ดูคลิปหนู่คิดว่า ครูจะสือถึงการจัดการข้อมูลใช่ไหมค่ะ? จากนั้นพี่ๆก็ได้จับคู่วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง 51 มาตราฐานและตัวชีวัด และขมวดเป็นสิ่งที่จะเรียนรู้ใน Quarter นี้ พี่ๆร่วมกัน ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ร่วมกันหน้าชั้นเรียน และร่วมกันตั้งชื่อหน่วยและเลือกชื่อหน่วย โดยใช้เครื่องมือคิด Think Pair Share จากชื่อทั้งหมด 6 ชื่อ คัดเหลือ 3 ชื่อ จากชื่อทั้งหมดพี่ๆขมวดเป็นชื่อหน่วยที่มีชื่อว่า "การขัดการชุดความรู้(Knowledge Management)" พี่ๆเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ จากเดี่ยวเป็นกลุ่ม จากกลุ่มเป็นห้อง ภาพรวมของพี่ม.3 ในสัปดาห์นี้ พี่ๆมีความกระตือรือร้น สนใจในเนื้อหาที่จะเกิดขึ้นใน Quarter 3 นี้ อีกทั้งยังสามารถขมวดเนื้อหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้หลากหลายขึ้น เช่น พี่ไข่มุก : สนใจเกี่ยวกับการคำนวณทางวิทยาศาตร์ เช่น การคำนวณเรื่องไฟฟ้า และลพลังงานต่างๆ พี่ชาติ : มีความสนใจในเรื่องของ สสาร ตารางธาตุ (ครูมอบหมายหารบ้าน สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน) สัปดาห์ถัดไปเริ่มเข้าสู่กิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้

    ตอบลบ