การจัดการชุดความรู้

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal) : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและมีวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

Week 3


เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นกับสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กันในระบบนิเวศได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
3
7 – 11
พ.ย.
2559
โจทย์ : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

Key Questions :
- สิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?”
- จะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีน้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์?
จะทำอย่างไรเมื่อความต้องการของมนุษย์อยู่เหนือข้อจำกัดของทรัพยากร?

เครื่องมือคิด :
- BAR ร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถามจากการออกแบบสายใยอาหาร
วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับ (ความสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต , บทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ , ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต , วัฎจักรในระบบนิเวศ , ทรัพยากรธรรมชาติ , การอุรักษ์ที่ยั่งยืน)
- DAR ระหว่างทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
- AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
- Show and Share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม


ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ข้อสอบ O-net
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง :
นักเรียนออกแบบสายใยอาหารของตนเองที่ซับซ้อน
มากที่สุด 
เชื่อม :
นักเรียนนำเสนอสายใยอาหารที่ซับซ้อนมากที่สุด
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยชุดคำถาม ดังนี้
“สิ่งแวดล้อมคืออะไร มีความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตอย่างไร?”
“สิ่งมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว โดยไม่มีสิ่งแวดล้อมได้ไหม?”
“สิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กันการอย่างไร?”
“ชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?”
“ทรัพยากรบางชนิดมีหมดไป เช่น น้ำมันจะหมดลงในอีก 40 ปี เราจะมีวิธีการจัดการอย่างไร?”
“เมื่อโลกไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติจะเป็นอย่างไร?”
“จะทำอย่างไรเมื่อความต้องการของมนุษย์อยู่เหนือข้อจำกัดของทรัพยากร?”
“จะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีน้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์?”

เชื่อม :
นักเรียนจับคู่ จับสลากเลือกหัวข้อเพื่อสืบค้นข้อมูลและทดลอง (ความสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต , บทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ , ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต , วัฎจักรในระบบนิเวศ , ทรัพยากรธรรมชาติ , การอุรักษ์ที่ยั่งยืน) พร้อมสรุปเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่สนใจ เช่น  ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง  Power point ฯลฯ
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
พุธ 2 ชั่วโมง
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (ความสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต , บทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ , ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต , วัฎจักรในระบบนิเวศ , ทรัพยากรธรรมชาติ , การอุรักษ์ที่ยั่งยืน)
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับลงในกระดาษ A4

ชง :  
ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : 
นักเรียนแต่ละคน ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน (AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม)
- นักเรียนสรุปความเข้าใจ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ในรูปแบบของตนเอง (การ์ตูนช่อง ,
Mind Mapping , infographic , ฯลฯ )
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
ใช้ :
- นักเรียนวิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ออกแบบสายใยอาหาร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูล ทดลอง พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (ความสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต , บทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ , ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต , วัฎจักรในระบบนิเวศ , ทรัพยากรธรรมชาติ , การอุรักษ์ที่ยั่งยืน)
- นักเรียนแต่ละคนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับ
- ระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- สรุปความเข้าใจ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของตนเอง

- วิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
- สายใยอาหาร
- ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง  Power point ในการนำเสนอ
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม
- การ์ตูนช่อง , Mind Mapping , infographic สรุปความเข้าใจเนื้อหา ในรูปแบบของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น กับสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กันในระบบนิเวศได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ได้อย่างน่าสนใจ
- สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น
กระดาษ , สี
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ได้ด้วยตนเอง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิดสร้างสรรค์   
สามารถคิดสร้างสรรค์และออกแบบกระบวนการทดลองและสรุปผลการทดลอง รวมถึงบันทึกข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ เช่น ชาร์ข้อมูล Timeline  ภาพประกอบ  การ์ตูนช่อง และ Mind Mapping
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆในระบบออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพเพื่อนำมาประกอบการจัดการเรียนรู้

คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้















ตัวอย่างชิ้นงาน




















1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้พี่ๆได้ลองออกแบบสายใยอาหารที่ซับซ้อนมากที่สุด และได้ลองทดสอบความเข้าใจ โดยใช้ข้อสอบ O-net ปี 58 จำนวน 10 ข้อซึ่งเกี่ยวกับเรื่องในสัปดาห์ที่แล้ว(สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต)ครูและพี่ๆร่วมพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
    พี่ไข่มุก : สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
    พี่พิมพ์ : อาศัยเกื้อกูลกันค่ะ
    จากนั้นครูมอบหมายโจทย์ให้กับพี่ๆในการสืบค้นข้อมูล พร้อมกับเตรียมนำเสนอหน้าชั้นเรียน หัวข้อที่พี่ๆได้ศึกษาเช่น
    การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าพี่เอิร์นและพี่อ้อแอ้นำเสนอในรูปแบบ Powerpoint และมีเกมให้พี่ๆแยกขยะตามสีของถังขยะ
    พี่ตุ๊กตา พี่ชาติ และพี่ดิว นำเสนอเรื่อง วัฏจักร(น้ำ,คาร์บอน,คาร์บอน)
    ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต นำเสนอโดยกลุ่มพี่หลุยส์ พี่ไก่ และพี่โอ๊ต พูดถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต เช่น ภาวะพึ่งพาไลเคนส์(รา+สาหร่าย) , ภาวะล่าเหยื่อ (เสือกับกวาง) เป็นต้น
    กลุ่มพี่ไข่มุก พี่อุ้ม และพี่ออดี้ นำเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหาร สายใยอาหารและการถ่ายทอดพลังงาน
    ภาพรวมในสัปดาห์นี้พี่ๆม.3เริ่มสามารถที่จะขมวดความเข้าใจของตนเองได้เร็วขึ้น สามารถเขียนช็อตโน้ททำให้ตัวเองเข้าใจ และสามารถฟัง จับใจความ และสรุปด้วยตนเองได้ดีขึ้น

    ตอบลบ