การจัดการชุดความรู้

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal) : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและมีวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

Week 7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและในโลกได้ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์และดาวเคราะห์อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลกได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
7
5 – 9
ธ.ค.
2559
โจทย์ : โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ

Key Questions :
- นักเรียนคิดว่ากระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและในโลกมีการเกิดอย่างไร?และสัมพันธ์กันอย่างไร?
- โลกในปัจจุบันแตกต่างกับโลกในอดีตอย่างไร (ตำแหน่งประเทศ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ) มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ?”
- ความสัมพันธ์ระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์และดาวเคราะห์อื่น ๆ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างไร?
- เทคโนโลยีอวกาศมีความสำคัญอย่างไร?

เครื่องมือคิด :
- BAR ร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถามจากการทดลอง
วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับ (บรรยากาศ , ดิน ,หินและแร่ ,โลกของเรา , ระบบสุริยะ , ดวงดาวในท้องฟ้า , เทคโนโลยีอวกาศ) 
- DAR ระหว่างทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
- AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
- Show and Share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม


ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- รูปภาพปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
- ข้อสอบ O-net
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง :
ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลอง เรื่อง ข้างขึ้น - ข้างแรม
เชื่อม :
นักเรียนประมวลความเข้าใจ ตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
ชง :  
ครูกระตุ้นด้วยชุดคำถาม ดังนี้
“หลักการแบ่งโครงสร้างของโลกเป็นอย่างไร?”
“โลกในปัจจุบันแตกต่างกับโลกในอดีตอย่างไร (ตำแหน่งประเทศ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ) มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ?”
“โลกกำเนิดขึ้นได้อย่างไร?”
“ดวงอาทิตย์เกิดขึ้นได้อย่างไรมีความสัมพันธ์กับโลกอย่างไร?”
“ความสัมพันธ์ระหว่าง   ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์อื่น ๆ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างไร?”      
“เทคโนโลยีอวกาศมีความสำคัญอย่างไร?”
เชื่อม :
นักเรียนจับคู่ จับสลากเลือกหัวข้อเพื่อสืบค้นข้อมูลและทดลอง (บรรยากาศ , ดิน ,หินและแร่ ,โลกของเรา , ระบบสุริยะ , ดวงดาวในท้องฟ้า , เทคโนโลยีอวกาศ) พร้อมสรุปเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่สนใจ เช่น  ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง  Power point ฯลฯ
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
พุธ 2 ชั่วโมง
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (บรรยากาศ , ดิน ,หินและแร่ ,โลกของเรา , ระบบสุริยะ , ดวงดาวในท้องฟ้า , เทคโนโลยีอวกาศ)
 - นักเรียนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับลงในกระดาษ A4
ชง :  
ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : 
นักเรียนแต่ละคน ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน (AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม)
- นักเรียนสรุปความเข้าใจ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
ในรูปแบบของตนเอง (การ์ตูนช่อง ,
Mind Mapping , infographic , ฯลฯ )
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
ใช้ :
- นักเรียนวิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ทำการทดลอง
“ข้างขึ้น -ข้างแรม”
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากกิจกรรมการทดลอง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูล ทดลอง พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ(บรรยากาศ , ดิน ,หินและแร่ ,โลกของเรา , ระบบสุริยะ , ดวงดาวในท้องฟ้า , เทคโนโลยีอวกาศ)
- นักเรียนแต่ละคนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับ
- ระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- สรุปความเข้าใจ เรื่อง โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ในรูปแบบของตนเอง
- วิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
- สรุปผลการทดลอง
“ข้างขึ้น -ข้างแรม”
- ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง  Power point ในการนำเสนอ
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม
- การ์ตูนช่อง , Mind Mapping , infographic สรุปความเข้าใจเนื้อหา ในรูปแบบของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและในโลกได้ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์และดาวเคราะห์อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลกได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ
- สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น กระดาษ , สี
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลอง เรื่อง ข้างขึ้น - ข้างแรม ได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถนำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับ โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ได้ด้วยตนเอง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิดสร้างสรรค์   
สามารถคิดสร้างสรรค์และออกแบบกระบวนการทดลองและสรุปผลการทดลอง รวมถึงบันทึกข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ เช่น ชาร์ข้อมูล Timeline  ภาพประกอบ  การ์ตูนช่อง และ Mind Mapping
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆในระบบออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพเพื่อนำมาประกอบการจัดการเรียนรู้

คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้



















ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์




1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆได้นำเสนอเรื่องกฎของโอห์ม โดยพี่ชาติ พี่อุ้ม และพี่เบ้น ความหมายของ ความต้านทาน กระแสไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้า นอกจากนั้นยังได้ให้เพื่อนๆลองฝึกทำโจทย์เกี่ยวกับการคำนวณทางไฟฟ้าโดยใช้กฎของโอห์ม และครูแพนได้เพิ่มโจทย์ที่ท้าทายให้กับพี่ๆอีก 4 ข้อ พี่ๆได้ลองฝึกทำโจทย์ไปพร้อมกัน เห็นความงอกงามของพี่ๆในเรื่องของการตีโจทย์ บอกได้ว่าโจทย์ให้อะไรมา และต้องการถามหาอะไร เช่น เห็นความตั้งใจของพี่ดิว ที่รีบทำโจทย์ แล้วนำมาให้ครูตรวจเช็คหลังจากตรวจเมื่อรู้ว่าตัวเองทำได้ก็เห็นแววตาที่มีความสุข เข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ จากนั้นก็ได้อธิบายให้กับเพื่อนๆได้ฟัง และนอกจากการคำนวณทางไฟฟ้าแล้วพี่ๆยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการหักเหขอแสง โดยพี่เอิร์น พี่ตุ๊กตา และพี่ออดี้ การหักเหของแสงที่ทำให้เกิดภาพโดยเลนส์เว้า และเลนส์นูน อธิบายโดยการวาดภาพประกอบ วางระยะวัตถุไว้ที่ที่แตกต่างกัน สังเกตระยะภาพที่เกิดขึ้น ภาพเสมือนจะเกิดหลังเลนส์ ภาพจริงจะเกิดหน้าเลนส์ ระยะของภาพที่เกิดจากเลนส์ ซึ่งหน้าที่เลนส์ก็แตกต่างกัน เลนส์นูนทำหน้าที่รวมแสง และเลนส์เว้าทำหน้าที่กระจายแสง ทำให้ภาพที่เกิดจากเลนส์นูนเป็นภาพจริงหัวตั้ง จากนั้นพี่ๆสรุปความเข้าใจในรูปแบบของตนเองลงในสมุด และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ