การจัดการชุดความรู้

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal) : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและมีวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

Week 4


เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสมบัติของสาร การเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
4
14 – 18
พ.ย.
2559
โจทย์ : สารและสมบัติของสาร

Key Questions :
- ของแข็ง ของเหลว ก๊าซมีความแตกต่างกันทางกายภาพ และเคมีอย่างไรบ้าง เพราะอะไร?
- ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคเกิดกระบวนการขึ้นอย่างไร?
- สมบัติของสารแต่ละชนิดเป็นอย่างไร?
- ตารางธาตุมีความสำคัญอย่างไร เชื่อมโยงกับตัวเราอย่างไร?

เครื่องมือคิด :
- BAR ร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถามจากการออกแบบสายใยอาหาร
วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับ (ความสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต , บทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ , ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต , วัฎจักรในระบบนิเวศ , ทรัพยากรธรรมชาติ , การอุรักษ์ที่ยั่งยืน)
- DAR ระหว่างทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
- AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
- Show and Share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- กระดาษกรอง แท่งชอล์ก
- ข้อสอบ O-net
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง :
ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลอง เรื่อง การจำแนกสาร (การกรอง , โครมาโทรกราฟี)
เชื่อม :
นักเรียนประมวลความเข้าใจ ตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยชุดคำถาม ดังนี้
“ของแข็ง ของเหลว ก๊าซมีความแตกต่างกันทางกายภาพ และเคมีอย่างไรบ้าง เพราะอะไร?”
“สารละลายมีสมบัติและปฏิกิริยาทางเคมีอย่างไรบ้าง?”
“ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคเกิดกระบวนการขึ้นอย่างไร?
“สมบัติของสารแต่ละชนิดเป็นอย่างไร?”
“หลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสารการเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีหลักการและการเกิดปฏิกิริยาอย่างไร?
“การเปลี่ยนแปลงของสารเกิดขึ้นอย่างไร?”

เชื่อม :
นักเรียนจับคู่ จับสลากเลือกหัวข้อเพื่อสืบค้นข้อมูลและทดลอง (การเปลี่ยนสถานะของสาร , กรด-เบส , สมบัติธาตุและสารประกอบ , การจำแนกสาร , ปฏิกิริยาเคมี , โมเลกุลและอะตอม ) พร้อมสรุปเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่สนใจ เช่น  ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง  Power point ฯลฯ
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
พุธ 2 ชั่วโมง
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (การเปลี่ยนสถานะของสาร , กรด-เบส , สมบัติธาตุและสารประกอบ , การจำแนกสาร , ปฏิกิริยาเคมี , โมเลกุลและอะตอม )
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับลงในกระดาษ A4
ชง :  
ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : 
นักเรียนแต่ละคน ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน (AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม)
- นักเรียนสรุปความเข้าใจ เรื่อง สารและสมบัติของสาร
ในรูปแบบของตนเอง (การ์ตูนช่อง ,
Mind Mapping , infographic , ฯลฯ )
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
ใช้ :
- นักเรียนวิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง สารและสมบัติ
ของสาร
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ร่วมทำการทดลอง
“การจำแนกสาร”
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากกิจกรรมการทดลอง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูล ทดลอง พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
(การเปลี่ยนสถานะของสาร , กรด-เบส , สมบัติธาตุและสารประกอบ , การจำแนกสาร , ปฏิกิริยาเคมี , โมเลกุลและอะตอม )
- นักเรียนแต่ละคนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับ
- ระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- สรุปความเข้าใจ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ในรูปแบบของตนเอง
- วิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง สารและสมบัติของสาร
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
- สรุปผลการทดลอง
“การจำแนกสาร”
- ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง  Power point ในการนำเสนอ
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม
- การ์ตูนช่อง , Mind Mapping , infographic สรุปความเข้าใจเนื้อหา ในรูปแบบของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสมบัติของสาร การเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ
- สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น
กระดาษ , สี
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลอง เรื่อง การจำแนกสาร ได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถนำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง สารและสมบัติ ได้ด้วยตนเอง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิดสร้างสรรค์   
สามารถคิดสร้างสรรค์และออกแบบกระบวนการทดลองและสรุปผลการทดลอง รวมถึงบันทึกข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ เช่น ชาร์ข้อมูล Timeline  ภาพประกอบ  การ์ตูนช่อง และ Mind Mapping
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆในระบบออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพเพื่อนำมาประกอบการจัดการเรียนรู้

คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้














ตัวอย่างชิ้นงาน



















1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับ สารและสมบัติของสาร ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิชาเคมี พี่ๆมีความตื่นเต้นที่จะอยากเรียนรู้กับเรื่องนี้พี่ๆแต่ละกลุ่มได้รับหัวข้อเพื่อสืบค้นข้อมูลตั้งแต่วันศุกร์ในสัปดาห์ที่แล้ว แล้วนำข้อมูลที่ได้ศึกษานั้นมาแลกเปลี่ยนกันในห้องเรียน
    ครูและพี่ๆร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งรอบๆตัวเรา อะไรบ้างที่เป็นสสาร พี่ไก่ : โต๊ะค่ะ พี่อ้อแอ้ : กระดานค่ะ
    แล้วพี่ๆคิดว่านิยามของคำว่าสสารคืออะไร พี่ชาติ : สสารต้องการที่อยู่ครับ พี่เดียร์: สิ่งที่สัมผัสได้ค่ะ
    สุดท้ายพี่ๆคิดว่า อากาศ เป็นสสารหรือไม่อย่างไร? พี่โอ๊ต : ไม่เป็นครับ จับต้องไม่ได้ พี่ตุ๊กตา : เป็นค่ะอากาศมีมวลมีน้ำหนักค่ะ ต้องการที่อยู่ค่ะ
    ความงอกงามสิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นคือ พี่ๆมีความกระตือรือร้นในการสืบค้นข้อมูล ซึ่งครูสังเกตได้จาก พี่ๆแต่ละกลุ่มนำหัวข้อที่ได้มาสอบถามครู เช่น
    พี่ไข่มุก : ครูค่ะ ปฏิกิริยาเคมีคืออะไรค่ะ หนูหาข้อมูลมาแล้วค่ะ แต่หนูอ่านไม่ค่อยเข้าใจ ครูช่วยอธิบายให้หนูเข้าใจหน่อยได้ไหมค่ะ?
    พี่ตุ๊กตา : ครูแพนค่ะหนูชอบมากเลยค่ะเรื่องการแยกสาร โดยเฉพาะโครมาโทรกราฟี หนูเคยเจอในข้อสอบค่ะ
    พี่อ้อแอ้ : ครูแพนค่ะหนูไม่ค่อยเข้าใจเรื่องกรด-เบสค่ะ ทำไมต้องมีกรดแก่กรดอ่อนแล้วดูยังไงค่ะว่า สมการนี้เป็นสมการกรด สมการนี้เป็นสมการเบส
    กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสัปดาห์นี้เริ่มจากเรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสาร โดยกลุ่มพี่พิมพ์ พี่ไก่ พี่อุ้ม การแยกสถานะของสาร และขั้นตอนการเปลี่ยนสถานะของสาร นอกจากนี้ครูแพนได้เพิ่มเติมในส่วนของการคำนวณหาค่าพลังงานที่เกิดขึ้นระหว่างการเปลี่ยนสถานะของสาร และในสัปดาห์นี้ มีพี่ๆหลายคนที่จะต้องไปสอบ นักเรียนทุนโครงการ พสวท. ครูน้ำผึ้งและครูแพนจึงเพิ่มเติมเนื้อหาในเรื่องของวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติมให้กับพี่ๆ เช่น เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ กฎของนิวตัน แรงเสียดทาน รวมถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาเคมี ตารางธาตุที่พี่ๆควรท่องจำ และบอกตำแหน่งเลขอะตอมและเลขมวล เป็นต้น
    ซึ่งภาพรวมในสัปดาห์นี้พี่ๆแต่ละคนตั้งใจเป็นอย่างมากเพราะกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องใหม่ ที่พี่ๆไม่ค่อยได้เจอพี่ๆจึงให้ความสนใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งได้ลองทำโจทย์ปัญหา การคำนวณต่างๆ และครูแพนได้ฝากโจทย์ให้พี่ๆไปคิดต่อ ในวันเสาร์ – อาทิตย์ เกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้า การต่อวงจร การคำนวณค่าไฟภายในบ้าน เป็นต้น

    ตอบลบ