การจัดการชุดความรู้

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal) : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและมีวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

Week 5

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
5
21 – 25
พ.ย.
2559
โจทย์ : แรงและการเคลื่อนที่

Key Questions :
- แรงและการเคลื่อนที่มีความเกี่ยวของกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าถ้านักเรียนโยนลูกบอลใส่กำแพงลูกบอลจะกระเด็นออกมาได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด :
- BAR ร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถามจากการออกแบบสายใยอาหาร
วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับ (ความสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต , บทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ , ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต , วัฎจักรในระบบนิเวศ , ทรัพยากรธรรมชาติ , การอุรักษ์ที่ยั่งยืน)
- DAR ระหว่างทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
- AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
- Show and Share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ลุกตุ้มแกว่ง
- ข้อสอบ O-net
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง :
ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลอง เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ (แนวตรง , โค้ง)
เชื่อม :
นักเรียนประมวลความเข้าใจ ตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยชุดคำถาม ดังนี้
“ธรรมชาติของแรงแต่ละชนิด เป็นอย่างไร?”
“ในธรรมชาติมีแรงอะไรบ้าง และส่งผลต่อมนุษย์หรือมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?”
“แรงและการเคลื่อนที่มีความเกี่ยวของกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไร?”
“ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีรูปแบบใดบ้าง? และในแต่ละรูปแบบมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างไร?”
“วัตถุมีการเคลื่อนที่ได้อย่างไร?”
“นักเรียนคิดว่าถ้านักเรียนโยนลูกบอลใส่กำแพงลูกบอลจึงกระเด็นออกมาได้อย่างไร?
เชื่อม :
นักเรียนจับคู่ จับสลากเลือกหัวข้อเพื่อสืบค้นข้อมูลและทดลอง (ปริมาณของแรง , แรงลัพธ์ , แรงกิริยา-ปฏิกิริยา , แรงที่กระทำต่อวัตถุ , แรงพยุง , แรงเสียดทาน , โมเมนต์ของแรง , การเคลื่อนที่ของวัตถุ ) พร้อมสรุปเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่สนใจ เช่น  ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง  Power point ฯลฯ
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
พุธ 2 ชั่วโมง
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (ปริมาณของแรง , แรงลัพธ์ , แรงกิริยา-ปฏิกิริยา , แรงที่กระทำต่อวัตถุ , แรงพยุง , แรงเสียดทาน , โมเมนต์ของแรง , การเคลื่อนที่ของวัตถุ )
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับลงในกระดาษ A4
ชง :  
ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : 
นักเรียนแต่ละคน ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน (AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม)
- นักเรียนสรุปความเข้าใจ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
ในรูปแบบของตนเอง (การ์ตูนช่อง ,
Mind Mapping , infographic , ฯลฯ )
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
ใช้ :
- นักเรียนวิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ร่วมทำการทดลอง “การเคลื่อนที่ของวัตถุ”
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากกิจกรรมการทดลอง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูล ทดลอง พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (ปริมาณของแรง , แรงลัพธ์ , แรงกิริยา-ปฏิกิริยา , แรงที่กระทำต่อวัตถุ , แรงพยุง , แรงเสียดทาน , โมเมนต์ของแรง , การเคลื่อนที่ของวัตถุ )
- นักเรียนแต่ละคนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับ
- ระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- สรุปความเข้าใจ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ในรูปแบบของตนเอง
- วิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
- สรุปผลการทดลอง “การเคลื่อนที่ของวัตถุ”
- ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง  Power point ในการนำเสนอ
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม
- การ์ตูนช่อง , Mind Mapping , infographic สรุปความเข้าใจเนื้อหา ในรูปแบบของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ
- สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น กระดาษ , สี
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลอง เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ ได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถนำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ เกี่ยวกับเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ได้ ให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ได้ด้วยตนเอง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิดสร้างสรรค์   
สามารถคิดสร้างสรรค์และออกแบบกระบวนการทดลองและสรุปผลการทดลอง รวมถึงบันทึกข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ เช่น ชาร์ข้อมูล Timeline  ภาพประกอบ  การ์ตูนช่อง และ Mind Mapping
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆในระบบออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพเพื่อนำมาประกอบการจัดการเรียนรู้

คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้




















ตัวอย่างชิ้นงาน



















ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์





1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้ พี่ๆม.3 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การจำแนกประเภทของสาร ผ่านการนำเสนอถ่ายทอดโดยกลุ่มพี่หลุยส์ และพี่โฟร์ท เป็นการยกตัวอย่างสารที่อยู่รอบๆตัวของเราเอง เช่น สารละลาย คือ น้ำรวมกับน้ำตาล ได้ น้ำเชื่อม เรียก น้ำเชื่อมนี้ว่า “สารละลาย” สารแขวนลอย ยกตัวอย่างการ นำดินมาผสมกับน้ำ และสะมีเศษเล็กๆลอยขึ้นมาบริเวณผิวน้ำ เรียกว่า “สารแขวนลอย” เพิ่มเติม พี่ไข่มุก : ฝุ่นในอากาศที่เรามองเห็นผ่านแสงเรียกว่า ปรากฏการณ์ “ทินดอลล์”
    กลุ่มที่ 2 นำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง ธาตุและอะตอม โดยพี่เอิร์น พี่ออดี้ และพี่เดียร์ พี่ออดี้ : นำเสนอความเป็นมาของการค้นพบอะตอม พี่เอิร์นพูดถึงเรื่องของ อะตอม โครงสร้างอะตอม ภายในอะตอบประกอบไปด้วยโปรตอนและนิวตรอน ซึ่งมีอิเล็กตอรนวิ่งอยู่ล้อมรอบ ภายในนิวเคลียสของอะตอมคือควาร์ก
    กลุ่มที่ 3 ธาตุและสารประกอบ โดยพี่ตุ๊กตา พี่ชาติ และพี่โอ๊ต เริ่มกิจกรรมโดยการให้เพื่อนๆ ท่องตารางธาตุ ทบทวนการอ่านชื่อธาตุแต่ละธาตุ จากนั้น พี่ๆลองรวมธาตุสองธาตุขึ้นโดยการตั้งคำถาม เพื่อนๆคิดว่าธาตุสองธาตุรวมตัวกัน จะกลายเป็นอะไร พี่เดียร์ : อะตอมค่ะ พี่อ้อแอ้ : สารประกอบค่ะ พี่หลุยส์ : โมเลกุล
    กลุ่มที่ 4 ปฏิกิริยาเคมี โดยพี่ไข่มุก พี่เบ้นซ์ และพี่เหน่ง ได้กล่าวถึงสารตั้งต้น และสารผลิตภัณฑ์ หลังการเกิดปฏิกิริยามวลรวมจะยังคงเท่ากันเสมอ และนอกจากนี้พี่ไข่มุกได้เพิ่มเติม การดุลสมการเคมี โดยให้โจทย์กับเพื่อนๆ ลองดุลสมการเคมี ซึ่งพี่ๆม.3 ตื่นเต้นเป็นอย่างมาก ซึ่งบางคนเป็นการดุลสมการครั้งแรก เห็นความตั้งใจของพี่ๆหลายคนที่ตั้งใจเก็บเกี่ยวสิ่งที่ได้เรียนรู้ และ
    กลุ่มสุดท้ายโดยกลุ่มพี่อ้อแอ้และพี่ดิว เกี่ยวกับเรื่อง กรด-เบส พูดถึงการแตกตัวของกรด และ เบส กรดแก่เบสแก่ ที่พี่ๆควรทราบ ปฏิกิริยาของเกลือกรด เกลือเบส และข้อสอบ เกี่ยวกับกรดเบส ทบทวนความเข้าใจของเพื่อนๆหลังการนำเสนอ
    ก่อนสรุปสัปดาห์ของพี่ๆม.3 ครูแพนได้ให้โจทย์ทบทวนความเข้าใจให้กับพี่ๆ เห็นความตั้งใจของพี่ๆทุกๆคนในการทำโจทย์ แก้โจทย์ปัญหาด้วยตนเอง เห็นความงอกงามของพี่หลายๆคน เช่น พี่ออดี้ : ได้อธิบายโจทย์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนหน่วย km/hr ให้เป็น m/s ให้เพื่อนได้ฟัง และกาคำนวณหา ระยะทางทั้งหมด พี่เอิร์น : อธิบายการดุลสมการเคมีให้กับเพื่อนๆหลายคนได้ฟัง ภาพรวมของสัปดาห์นี้พี่ๆมีพลังความตั้งใจ และพลังน้อมรับประสบการณ์การเรียนรู้ที่เพื่อนๆและคุณครูมอบให้เป็นอย่างดีเยี่ยม สิ่งที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์ต่อไปคือเรื่องพลังงานต่างๆ เช่น พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า พลังงานแสง เป็นต้น โดยครูได้มอบหมาย หัวข้อในการสืบค้นข้อมูลของพี่ๆ (Home School Day) พร้อมพูดคุยร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในสัปดาห์หน้า

    ตอบลบ